Welcome To MHESI

อว. Soft Power

แหล่งเรียนรู้สำหรับฝึกทักษะเพื่อสนับสนุน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ตามแนวทางส่งเสริมวัฒนธรรม 5F สู่การเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมสำคัญของไทย โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยได้เปิดหลักสูตรออนไลน์ที่สนับสนุนผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ Soft Power

1,800,000+ Lerner on Thai MOOC

180+

Organization

685+

Online Course

พัฒนาทักษะ เสริมวิชาการ สร้างความเชื่อมั่น และจัดนิคมนวัตกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

“ในส่วนการพัฒนากำลังคนรัฐบาลมีเป้าหมายจะพัฒนากำลังคนถึง 20 ล้านคน โดยในปีแรกจำนวน 1 ล้านคนนั้น อว. มีกลไกการเพิ่มทักษะ หรือ Upskill- Reskill ซึ่งจะเน้นการยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง โดยใช้มหาวิทยาลัย 150 แห่ง ทั่วประเทศ ทำได้ในทุกพื้นที่ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะและเครือข่ายอาชีวะเชื่อมโยงกับการรับรองมาตรฐานทักษะและธนาคารหน่วยกิต รวมทั้งมหาวิทยาลัยหลักที่มีหลักสูตรทางด้านนี้อยู่แล้ว สามารถจะต่อยอด สอนในทักษะที่สูงขึ้นอีกในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีหลักสูตรแล้ว 871 หลักสูตรสามารถผลิตคนด้านนี้ได้ประมาณปีละ 40,000 คน โดยเมื่อได้รับทราบความต้องการของซอฟท์พาวเวอร์แต่ละสาขาทั้ง 11 ด้านแล้ว อว. ก็จะเร่งให้มหาวิทยาลัยไปปรับเพิ่มเติมอีกให้ตรงกับโจทย์และความต้องการ”

นาวสาว ศุภมาส อิศรภักดี
รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

11 ด้าน ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

รัฐบาลได้สนับสนุนการขับเคลื่อน Soft Power ประเทศไทยอย่างบูรณาการ โดยมีนโยบายให้ความสำคัญกับการส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในเวทีโลก ดังนั้น รัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนโครงการ แผนงาน และมาตรการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบสูง ผ่านคอนเทนต์ 11 อุตสาหกรรม Soft power เป้าหมายของประเทศไทย 

รายวิชาออนไลน์สนับสนุน Soft Power

กระทรวง อว.สามารถเข้าไปสนับสนุนใน 3 ส่วนสำคัญคือ 1.การพัฒนากำลังคนให้มีทักษะสูงขึ้น 2.การใช้ข้อมูลทางวิชาการเสริมในประเด็นสำคัญเพื่อให้ซอฟต์พาวเวอร์ไทยได้รับความเชื่อถือในระดับโลก และ 3.การจัดโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 11 สาขา ดังนั้นโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จึงได้จัดรายวิชาออนไลน์สำหรับฝึกทักษะเพื่อสนับสนับสนุน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล ประกอบไปด้วยรายวิชาออนไลน์ที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ 11 อุตสาหกรรมตรงกับนโยบาย Soft power

โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

Thai MOOC Platform

Thai MOOC คือ แพลตฟอร์ม (Platform) ที่สนับสนุนในด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด (Thailand Massive Open Online Course) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการแสวงหาความรู้ให้กับประชาชนไทย ฟรี และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาส่งเสริมให้ประชาชนไทยเกิด “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) นอกจากนี้ยังสนับสนุนหน่วยงาน องค์กร สถาบัน ต่าง ๆ ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ MOOC ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เรามีรายวิชาออนไลน์ที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ 11 อุตสาหกรรมตรงกับนโยบาย Soft power